All posts tagged: featured
หนังสือ “อ่านยาก” ยอดเยี่ยมจริงหรือ ?
12 สิ่งเกี่ยวกับแอนิมอลฟาร์มที่คุณอาจไม่เคยรู้! (1)
รวมหนังสือที่อยู่ในหนัง Wes Anderson
NYRB เจาะตลาดงานเขียนที่ถูกลืม
ปี 1882 อันโตน เชคอฟ เพิ่งเริ่มต้นวิชาชีพนักเขียนในวัย 22 ปี และยื่นต้นฉบับเรื่องสั้นมากมายให้กองเซนเซอร์ซึ่งสุดท้ายก็โดนปัดตก เรื่องสั้นเหล่านี้ชื่อชุดว่า “The Prank” เรื่องเล่าเสียดสีที่ถูกเก็บเข้ากรุมานาน 130 ปี กระทั่งสำนักพิมพ์ New York Review of Books ตีพิมพ์ออกมาเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
5 เล่มที่เปลี่ยนโลก
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558 เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์หัวอังกฤษ The Guardian ได้เชิญนักเขียน 10 คนมาเล่าถึงหนังสือที่แต่ละคนคิดว่าสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกคนละ 1 เล่ม โดยนักเขียนแต่ละคนนั้นมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทัศนคติ ทำให้เราได้เห็นหนังสือที่แตกต่างกันออกไป แต่ด้วยเวลาและกำลังที่จำกัด Papercuts เลยขอเลือกเอามาเพียง 5 เล่ม ที่มีความโดดเด่นมาฝากผู้อ่านทุกคน มาดูกันว่ามีหนังสือเล่มไหนบ้าง
20 ปกน่าจดจำของวรรณกรรมภาษาอังกฤษ
แม้จะมีคำกล่าวอย่าง “อย่าตัดสินหนังสือที่ปก” ให้ได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหน้าปกนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำให้หนังสือเป็นที่จดจำ ดังนี้ Papercuts ขอเสนอ 20 ปกคลาสสิกที่คัดสรรโดยทีมงานเว็บไซต์ Flavorwire มาดูกันว่าจะสวยติดตาสมคำชมจริงหรือไม่ 1. Catch 22 – Joseph Heller 2. The Great Gatsby – F. Scott Fitzgerald 3. Atlas Shrugged – Ayn Rand 4. A Clockwork Orange – Anthony Burgess 5. The Catcher in the Rye – J.D. Salinger 6. Invisible Man – […]
The Cover Designers ความสร้างสรรค์ของนักออกแบบปกหนังสือ
เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในงานเทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1 มีงานเสวนาน่าสนใจอย่าง “The Cover Designers ความสร้างสรรค์ของนักออกแบบปกหนังสือ”ซึ่งเชิญนักออกแบบปกหนังสือรุ่นใหญ่ที่มีผลงานมาแล้วนับพันปกอย่างคุณทองธัช เทพารักษ์ มาสนทนากับคนทำปกรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีผลงานน่าจับตาอย่างคุณกรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หรือเบิ้ม – Wrongdesign โดยมีแสตมป์ – อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ศิลปินหนุ่มสุดร้อนแรง ผู้จบมาจากสายออกแบบและเคยมีหนังสือเป็นของตัวเองมาแล้วเป็นผู้ดำเนินรายการ บทสนทนาตลอดเวลาชั่วโมงครึ่งของนักออกแบบทั้งสองจะเผยความลับหลังปกหนังสือ ทั้งกระบวนการคิดและการทำงาน ตลอดจนคำแนะนำสำหรับนักออกแบบปกให้ผู้ฟังได้ขำและคิดไปพร้อมกัน
Jay Rubin เมื่อการแปลเป็นอัตวิสัย
แฟนมูราคามิในโลกภาษาอังกฤษอาจไม่คุ้นชิน เมื่อต้นฉบับแปล Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage ครั้งนี้ ไม่ได้แปลโดย เจย์ รูบิน อย่างเล่มที่แล้วๆ มาอีกต่อไป คงไม่ใช่เพียงแค่นักอ่านชาวไทยเท่านั้นที่ติดใจสำบัดสำนวนของนักแปลเฉพาะคนซึ่งบ้างก็ว่าไปไกลกว่าสำนวนมูราคามิแล้ว เพราะแม้แต่ในฉบับภาษาอังกฤษ Nikkitha Bakshani ผู้เขียนบทความสัมภาษณ์ใน The Rumpus ก็ตั้งข้อสังเกตในทำนองเดียวกันว่า แม้คนอื่นจะแปลได้ดีพอๆ กันกับรูบิน แต่แฟนมูราคามิในแดนตะวันตกต่างก็เชื่อมโยงกับงานของนักเขียนญี่ปุ่นนามอุโฆษท่านนี้ผ่านรูบินมาโดยตลอด